มาดูวิธีการรักษาโรคลมชักกันค่ะ

โรคลมชัก  รักษาอย่างไร

ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรคลมชักสามารถควบคุมอาการชักได้โดยการใช้ยากันชัก ยากันชักนี้สามารถป้องกันการชักได้  แต่อย่างไรก็ตาม โรคลมชักนั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในปัจจุบัน ยากันชักมีด้วยกันหลายชนิด การใช้ยาในแต่ละชนิดจะขึ้นกับลักษณะของอาการ

การชักและประเภทของโรคลมชักที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ในผู้ป่วยบางรายเมื่อใช้ยากันชักไประยะหนึ่งจะมีแนวโน้มของการชักลดลง ทำให้สามารถหยุดการใช้ยากันชักได้  แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องใช้ยากันชักเป็นระยะเวลานานหรือตลอดชีวิต แม้ว่าจะหยุดชักแล้วก็ตาม เช่นในผู้ป่วยที่มีรอยแผลเป็นในสมองยังคงมีอยู่ ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถควบคุมอาการของโรคลมชักได้อย่างสมบูรณ์  แม้ว่าจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับชนิดของการชักที่เป็นอยู่ ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการใช้ยากันชัก ยังมีอีกหลายวิธีในการรักษาโรคลมชัก อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาเหล่านี้อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยทุกท่านที่ไม่ตอบสนองต่อยากันชัก

การรักษาโรคลมชัก นอกจากการใช้ยาแล้ว อาจรักษาโดยการผ่าตัด อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นที่อาจรักษาได้ผลด้วยวิธีการผ่าตัด การผ่าตัดจะถูกนำมาพิจารณา ถ้าสามารถระบุตำแหน่งของรอยโรคในสมองที่ทำให้เกิดการชักได้ และเป็นตำแหน่งที่สามารถทำการผ่าตัดได้ โดยไม่ทำความเสียหายให้เนื้อสมองส่วนอื่น ผู้ป่วยไม่มีผลกระทบจากการผ่าตัดเอาเนื้อสมองบางส่วนออก

การกระตุ้นเส้นประสาท เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคลมชัก วัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนระยะเวลาและความรุนแรงของการชักลง โดยการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนที่เส้นประสาท Vagus ข้างซ้ายและเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่คอ VNS ไม่ใข่วิธีการรักษาโรคลมชักให้หายขาดได้ และผู้ป่วยมักต้องใช้ยากันชักควบคู่ไปด้วย ดังนั้น VNS มักใช้กับผู้ป่วยโรคลมชักที่คุมได้ยากและไม่สามารถรักษาโดยใช้วิธีผ่าตัดได้

อาการของโรคลมชักอาจทำให้ผู้พบเห็นเกิดการตกใจได้ แต่ผู้ป่วยที่มีอาการชักจะไม่มีอาการเจ็บปวด และอาจจำเหตุการณ์ขณะชักไม่ได้หรือจำได้เพียงเล็กน้อย วิธีที่ควรทำขณะเกิดการชักคือ การป้องกันอันตรายให้ผู้ป่วยขณะชัก จนกว่าผู้ป่วยจะหยุดชักเอง การปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคลมชักใช้ช้อนหรือไม้แขนงสอดเข้าปากกันไม่ให้กัดลิ้น